การเลือกเสื้อผ้าสำหรับหน้าหนาว “The Winter is Coming!”
ถึงแม้ว่าประเทศไทยบ้านเราจะเป็นประเทศร้อนชื้นแต่ปัจจุบันการท่องเที่ยวต่างประเทศได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะฉนั้นเราจึงควรมีความรู้และความเข้าใจในสภาพร่างกายของเราเมื่อต้องทำกิจกรรม หรือใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางอากาศหนาว เพราะโดยปกติแล้วร่างกายของมนุษย์ได้รับการออกแบบมาให้อยู่ในสภาพอากาศอุ่น เราจึงต้องการเสื้อผ้าและอุปกรณ์กันหนาวต่างๆ รักษาความแห้งและอุณหภูมิของร่างกายเพื่อความปลอดภัย
การเลือกชนิดของเสื้อผ้าและวิธีการนำมาใส่ร่วมกันมีความสำคัญมาก เสื้อผ้าที่ดีเมื่อสวมใส่แล้วควรเคลื่อนไหวได้สะดวกและมีการระบายอากาศที่ดี อากาศภายในเครื่องนุ่งห่มคือปัจจัยสำคัญที่จะสร้างชนวนกันความหนาวแผ่เข้าสู่ร่างกายได้ ไม่ว่าจะเสื้อผ้า, เครื่องนุ่มห่ม, ถุงมือหรือรองเท้าที่ฟิตจนเกินไป จะทำให้บรรยากาศภายในมีอากาศน้อย ซึ่งทำให้ยากต่อการสร้างชนวนกันความหนาว (แต่ในทางกลับกัน หากคุณสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมเกินไป ก็ทำให้การสร้างความอบอุ่นภายในเป็นไปได้ยากด้วยเช่นกัน)
Material Basics
วัสดุพื้นฐาน
การเลือกวัสดุที่เหมาะสม
การออกแบบเสื้อผ้าเอ้าท์ดอร์อาจใช้การผสมผสานวัสดุหลายอย่างเข้าด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตาม การใช้หลายวัสดุร่วมกันแต่ละวัสดุก็จะมีคุณลักษณะไม่เหมือนกันและต้องใช้เทคนิคการเย็บที่แตกต่างกันออกไป สำหรับการเลือกเสื้อผ้าเพื่อฤดูหนาว การเข้าใจธรรมชาติของแต่ละวัสดุว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร และเลือกให้เข้ากับกิจกรรมพร้อมทั้งสถานที่ที่จะนำไปสวมใส่ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันครับ
วัสดุที่ได้จากขนแกะ
Wool (ขนแกะ)
วัสดุขนแกะคือ วัสดุธรรมชาติที่มีการนำมาใช้ผลิตเครื่องกันหนาวอย่างแพร่หลาย ด้วยลักษณะโครงสร้างที่คดงอเป็นลอน และเป็นโพรง ทำให้บรรยากาศภายในวัสดุจุอากาศได้เยอะ ซึ่งนั่นคือชนวนกันความหนาว วัสดุขนแกะมีคุณสมบัติดูดซึมความชื้นระหว่างเส้นใยต่อเส้นใยด้วยกันเอง ซึ่งหมายความว่า วัสดุขนแกะจะทำให้ผิวหนังมีความรู้สึกแห้ง และสร้างชนวนกันหนาวได้แม้มีความชื้น คุณสมบัติอีกอย่างหนึ่งของวัสดุขนแกะคือ ขนแกะจะไม่เก็บกลิ่นเหมือนกับวัสดุใยสังเคราะห์ กล่าวคือ วัสดุขนแกะเป็นวัสดุที่เหมาะสำหรับ ถุงเท้า, ชั้นใน และชุดชั้นกลาง
แต่คุณสมบัติที่ไม่ดีของวัสดุขนแกะคือ ขนแกะจะค่อนข้างผิวหยาบ อาจทำให้รู้สึกคันๆ ส่วนชุดชั้นในที่ผลิตจากขนแกะ จะใช้ขนแกะ Merino Sheep (พันธุ์แกะที่มาจากประเทศสเปน) ฉะนั้นทางที่ดีควรทดลองสวมใส่ดูก่อน หากรู้สึกคันอาจลองเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุอื่นๆ เช่น Merino Wool หรือ ใยสังเคราะห์
เส้นใยสังเคราะห์
Synthetic Fibres (เส้นใยสังเคราะห์)
เส้นใยสังเคราะห์ผลิตจากส่วนผสมทางเคมีและหนึ่งในนั้นมักมีส่วนผสมของน้ำมันเป็นสารตั้งต้นด้วย วัสดุเส้นใยสังเคราะห์มีหลายประเภทเช่น Polyester, Polyamides และ Polypropylene ขึ้นอยู่กับว่าวัสดุนั้นๆ ออกแบบมาเพื่อจุดประสงค์อะไร แต่หลักๆ แล้ว เส้นใยสังเคราะห์มีคุณสมบัติดูดซับความชื้นได้ดีในขณะที่มีความทนทานและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ด้วยเหตุผลนี้ จึงนิยมใช้เส้นใยสังเคราะห์คู่กับวัสดุธรรมชาติ เช่น Base Layer ที่ใช้ผ้าขนแกะ
โดยทั่วไปนิยมใช้ผ้าใยสังเคราะห์กับเสื้อผ้าเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ชุดชั้นในจนถึงเสื้อแจ๊คเก็ตชั้นนอก ชุด Base Layer ที่ใช้ผ้าใยสังเคราะห์เหมาะมากสำหรับผู้ที่มีเหงื่อเยอะ, เสื้อชั้นกลาง (Middle Layer) ที่ใช้ผ้าใยสังเคราห์เช่น เสื้อฟลีซ (Fleece Sweater) จะซับความชื้นได้ดีและแห้งเร็ว
แต่ข้อเสียก็คือ ผ้าใยสังเคราะห์จะเก็บกลิ่นไม่พึงประสงค์ และจะสูญเสียคุณสมบัติหากไม่ทำความสะอาดบ่อยเท่าที่ควร
Cotton (ผ้าฝ้าย)
ผ้าฝ้ายเป็นอีกหนึงวัสดุจากธรรมชาติ ปกติแล้วนิยมนำมาผลิตเป็นเสื้อผ้าอย่างแพร่หลาย แต่ผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติซับความชื้น, แห้งตัวช้าและทำให้อุณภูมิในร่างกายลดลง (ใส่แล้วเย็น) ซึ่งหมายความว่า ผ้าฝ้ายไม่ใช่วัสดุที่ดีสำหรับเครื่องกันหนาว อย่างน้อยก็ไม่ควรนำมาใช้สำหรับชุดชั้นใน, Base Layer หรือเสื้อชั้นกลาง (Middle Layer) อย่างไรก็ตาม ผ้าฝ้ายที่มีเส้นทอแน่นอาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเสื้อแจ๊คเก็ตชั้นนอกสุดในสภาวะที่อากาศหนาวสุดๆ ยกตัวอย่างเช่น เสื้อ Anorak (เสื้อแจ๊คเก็ตชั้นนอกสุดแบบสวมหัว) ถ้าหากไม่นับเรื่องการซึมซับความชื้นออกจากร่างกาย เสื้อแจ๊คเก็ตชั้นนอกสุดที่ทำจากผ้าฝ้ายถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับอากาศหนาวและแห้ง
สรุปว่า
เสื้อผ้ากันหนาวทั้งหลายที่เราใส่ไม่ใช่สิ่งที่กันความหนาว แต่คืออากาศที่อยู่ระหว่างตัวเรากับเสื้อผ้าต่างหากที่เป็นชนวนกันความหนาว หากเราใส่เสื้อฟิตเกินไปก็ไม่มีอากาศมากพอที่จะสร้างฉนวนกันความหนาว ขณะเดียวกันหากเราใส่เสื้อหลวมเกินไปก็มีอากาศมากเกินไปที่จะสร้างความอุ่นภายในเสื้อ
ผ้าขนแกะ : ข้อดี ดูดซับความชื้นได้ดี แห้งเร็ว ไม่เก็บกลิ่น ข้อเสีย มีผิวหยาบอาจใส่แล้วคัน
ผ้าใยสังเคราะห์ : ข้อดี ดูดซับความชื้นได้ดี แห้งเร็ว ทนทาน ข้อเสีย เก็บกลิ่นต้องซักบ่อย
ผ้าฝ้าย : ข้อดี เส้นใยแน่นถี่ เหมาะเป็นเสื้อชั้นนอกสุด ข้อเสีย ซับเหงื่อดีใส่แล้วเย็น (ไม่เหมาะเป็นเสื้อกันหนาว)
Basic Rules
คอนเซ็ปรวมของการแต่งตัว
- พยายามทำตัวเองให้แห้งที่สุด ลองปรับแต่งเครื่องแต่งกายของคุณให้เข้ากับสภาพอากาศและระดับความเข้นข้นของกิจกรรมที่คุณทำ
- ใส่เสื้อผ้าให้น้อยชั้นกว่า เมื่อคุณทำกิจกรรมเสียเหงื่อ หรืออยู่ในสถานะการณ์ที่คาดว่าจะเปียก เพื่อที่เสื้อผ้าของคุณจะได้แห้งเร็วขึ้น
- ควรเก็บเสื้อกันหนาวไว้ใส่ยามที่คุณพัก และเก็บเสื้อผ้าแห้งๆ ไว้ใส่ในยามที่จะไม่เปียก
- ไม่ควรให้มีหิมะหรือโคลนเกาะตามเสื้อผ้าและรองเท้า ควรปัดออกทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิอุ่นขึ้น
- พึงระวังเมื่อใช้ผ้าฝ้าย (ผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติซับเหงื่อและแห้งช้า) อย่าแหกหลักการใส่เสื้อผ้าหลายชั้น (Multiple – Layer Principle) โดยให้คำนึงถึงการใช้วัสดุเสื้อผ้าที่เหมาะที่ควรในแต่ละชั้น
เสื้อผ้ากันหนาวที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานดีๆ จะมีความสามารถปกป้องความหนาว, ลม, ฝน และในขณะเดียวกันก็รับมือกับความร้อนในร่างกายหรือเหงื่อที่มากเกินไปด้วย โดยดูดชับออกจากผิวหนังของเรา
การเลือกสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ, แรงลม และกิจกรรมเป็นสิ่งที่สำคัญ ลองสังเกตร่างกายของคุณให้ดี หากคุณเพิกเฉยสัญญาณเหล่านั้น ไม่ว่าอาจจะเป็นเพราะไม่อยากหยุดพักเพราะไม่สะดวก อาจก่อให้เกิดปัญหาในภายหลังได้ ฉะนั้นคุณควรจะทำให้ชินกับการเปลี่ยนเสื้อผ้าไปมาระหว่างที่คุณเดินเทรคกิ้ง
รู้หรือไม่ว่า? :
- ผู้หญิงจะหนาวได้ง่ายกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะที่มือและเท้า เหตุผลก็เพราะร่างกายของผู้ชายมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าผู้หญิง ซึ่งทำให้มีการไหวเวียนของระบบกระแสเลือดเพื่อสร้างความอุ่นให้กับร่างกายที่ดีกว่า
- ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย เมื่อไรที่คุณรู้สึกว่านิ้วมือและนิ้วเท้าของคุณเริ่มเย็น สิ่งที่ควรทำคือใส่เสื้อชั้นกลางเพื่อสร้างความอุ่นให้กับช่วงลำตัว เพราะว่าร่างกายเราจะใช้พลังงานทั้งหมดที่มีสร้างความอบอุ่นเพื่อปกป้องอวัยวะภายในที่สำคัญก่อนเป็นอย่างแรก เช่น หัวใจหรือตับ เป็นต้น เหตุเพราะอวัยวะเหล่านี้เป็นแรงขับเคลื่อนการไหวเวียนของโลหิต หากคุณสร้างความอบอุ่นให้กับช่วงลำตัวมากพอ ร่างกายก็จะมีความอบอุ่นเหลือพอที่ส่งต่อไปถึงมือนิ้วและนิ้วเท้าของคุณ